ตามที่รัฐบาลได้ปฏิรูประบบราชการ และได้กำหนดให้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นภารกิจหนึ่ง
ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
และภายใต้ กรอบนโยบายดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้
ตั้งกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อดำเนินการ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โดยเริ่มต้นด้วยการ
(1) กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมาจดทะเบียน
เพื่อให้สามารถรู้ถึง การมีอยู่จริง ของผู้ประกอบการว่า
เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไร และนำมากำหนดแนวทาง
ในการส่งเสริมให้สอดคล้อง กับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ไปใช้ในการประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม และประสบผลสำเร็จมากขึ้น
(2) เปิดให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace)
ผ่านทางเว็บไซต์ bangkrasor.com เพื่อช่วยส่งเสริมการตลาด
และจัดหาตลาดให้ผู้ประกอบการสามารถ ทำการซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์ได้
ประโยชน์ของการจดทะเบียน
1. การจดทะเบียน จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือ
และผู้บริโภคมีความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมมากขึ้น
2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล
แยกตามประเภทธุรกิจ (e-Directory) นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง
ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
3. ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
(Trustmark) จากกรมฯ และหากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กรมฯ
กำหนด ผู้ประกอบการจะได้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
และสามารถนำเครื่องหมายนี้ไปติดไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของตน
เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง
4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา
การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์ อันเป็นอาชีพปกติ
ดังนี้
(1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
(2) บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
(3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web
Hosting)
(4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(e-Marketplace)
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน
1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์
(เอกสารแนบ )
2. สำเนาบัตรประจำตัว
- กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน
หรือของกรรมการผู้มีอำนาจ ของบริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัด
(ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)
กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์
ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ
สถานที่ยื่นจดทะเบียน
(1) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นจดทะเบียนต่อ
สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง
สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใดก็ได้
ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สนามบินน้ำ นนทบุรี) โทร. 0 2547 5153-5
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (อาคาร ถ.มหาราช)
โทร. 0 2622 0572-3
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (อาคาร ถ.พระราม
6) โทร. 0 2618 3345
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์
ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7268
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์
ถ.สีลม) โทร. 0 2266 5853-4
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์
ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7255
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (อาคารโมเดิอร์นฟอร์ม
ถ.ศรีนครินทร์) โทร. 0 2722-8366-7
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์
ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7253
(2) ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น
นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น
ๆ เพียงแห่งเดียว
ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ต้องจดทะเบียน
- มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า
e-mail หรืออื่น ๆ
- มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี
การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
- มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ
โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการหาคู่
บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ รับสมัครงาน เป็นต้น
- มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น
และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
- รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์
เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์ นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต
- เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น
(เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
- เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เช่น การ Download โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver
SMS เป็นต้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องจดทะเบียน
- มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ
(ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความ แจ้งว่าให้ติดต่อได้
เช่น สนใจโทร.ติดต่อ
หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
.
- การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้น
ไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการ และไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ
แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner
ก็ตาม
- การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
- การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
- เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว
การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
- เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ
- ร้านอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต
(อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้
เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตฯ ไม่ต้องจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบการ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ ปกติ
(ถือเป็นพาณิชยกิจธรรมดา ในช่องทางปกติ ไม่ใช่ e-Commerce
)
|